Saturday, December 19, 2020

นักวิทย์ฯ ตะลึง พบฟอสซิลงูดึกดําบรรพ์ 47 ล้านปี เก่าแก่ที่สุด เท่าที่โลกเคยเจอ

นักวิทยาศาสตร์ทึ่ง ค้นพบ ฟอสซิลงูดึกดําบรรพ์ 47 ล้านปี ที่เยอรมนี ชี้ชัดยุโรปเคยมีงูเหลือมและงูหลามในอดีต เผยเป็นฟอสซิลงูที่เก่าแก่ อายุมากที่สุดในโลก

 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เว็บไซต์เดลี่เมล รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากฟอสซิล งูหลาม หรือ งูเหลือม (Python) อายุ 47 ล้านปี ที่เยอรมนี โดยฟอสซิลดังกล่าวนับว่าเป็นฟอลซิลงูไพธอนที่มีอายุมากที่สุด เท่าที่เคยพบเจอมาในโลก และงูตัวนี้เป็นสปีชีส์และประเภทใหม่ ที่ไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน


จุดที่ค้นพบฟอลซิลดังกล่าวคือ หลุมเมสเซิล (Mellel Pit) นอกเมืองดาร์มชตัดท์-ดีบูร์ก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้มันว่า Messelopython freyi

หลุมเมสเซิล คือ อดีตเหมืองร้างที่ UNESCO จัดให้เป็นแหล่งมรดกโลก UNESCO เมื่อปี 2538 โดย งูหลาม หรือ งูเหลือม ที่พบ นับอายุย้อนไปได้ในสมัยอีโอซีน (Eocene Period) สมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีน ช่วงเวลาระหว่าง 56 - 33.9 ล้านปีก่อน

งูที่จัดอยู่ใน วงศ์งูเหลือม (Python) ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด และมีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายอยู่ในแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย


การค้นพบว่ามีงูในวงศ์งูเหลือมเคยอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปด้วย แสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีงูหลายชนิด

แต่พอมาถึงสมัยไมโอซีน ซึ่งเป็นช่วง 22 - 5 ล้านปีก่อน งูในวงศ์งูเหลือมก็หายไปจากทวีปยุโรป เนื่องจากการเปลี่ยนทางสภาพอากาศที่ทำให้ยุโรปเย็นลงอีกครั้ง

ดร.คริสเตอร์ สมิธ จาก สถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเซนเคินแบร์ก (Senckenberg Research Institute and Natural History Museum) เปิดเผยว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงถิ่นกำเนิดของงูตัวนี้

แต่การค้นพบฟอสซิลงูสายพันธุ์ใหม่จะเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของงู โดยเฉพาะงูในยุโรป


ขอบคุณข้อมูลจาก Daily Mail
https://hilight.kapook.com/view/209562

No comments:

Post a Comment